วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระครูเทพโลกอุดร

 พระครูเทพโลกอุดร

พระอริยะซึ่งเป็นพระเกิจิอาจาริย์ของกรมหลวงชุมพรฯ

พระอริยะที่ถูกกล่าวถึงอยู่เสมอเมื่อกล่าวถึงพระอริยะสายป่าหรือสายพระกรรมฐาน  ประวัติความเป็นมาของท่านไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าท่านเป็นพระเถระที่มีอายุมาตั้งแต่ต้นพุทธกาล  ทั้งยังเป็นศิษย์สายเดียวกันกับ หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเงิน 


วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

จากคำบอกเล่าของหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดาเสด็จในกรมเล่าว่า
   "ทรงสักยันต์ทั้งองค์ตั้งแต่หนุ่มๆ เช่น สักหนุมาน สักลิงลมที่พระชงฆ์ทำให้เดินเร็ว ใครตามแทบไม่ทัน ที่อุระทรงสักตัวเลข ตราด ร.ศ. ๑๑๒ เพราะรับสั่งว่า "ฝรั่งเศสเข้ามาเอาเมืองเราเมื่อ ๑๑๒ ต้องจำ มีคนเล่าว่าท่านทรงเลี้ยงผี ซึ่งก็จริง เพราะท่านทรงปั้นหุ่นเล็กๆที่เรียกว่า "หุ่นพยนต์" แล้วปักเสียบปักไว้หน้าวัง รอบๆสนามเมื่อคราวออกจากราชการ มีคนพูดว่า ที่วังนี้เลี้ยงคนไว้เยอะจัง พอตอนกลางคืนเห็นคนวิ่งเกรียวกราวตอนดึกๆดื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกระดูกหน้าผากแม่นาคพระโขนง คาดไว้ที่บั้นพระองค์ ไม่ทราบว่าใครนำมาถวาย
   เสด็จพ่อทรงเชื่อไสยศาสตร์ มีพระอาจารย์ที่สำคัญและสนิทมากคือ หลวงปู่ศุข หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อเงิน"
   จากการรวบรวมบรรดาคณาจารย์ พบเกจิอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือถึง ๑๐ รูป ฆราวาส ๑ คน และเทพนารีอีก ๒ พระองค์
๑. หลวงปู่ดำ (หลวงพ่อใหญ่ หรือ พระครูเทพโลกอุดร ) จ. ภูเก็ต
๒.
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา
๓.
หลวงปู่ศุข วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า จ. ชัยนาท
๔.
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
๕. หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ
๖. หลวงพ่อจร วัดดอนรวบ จ. ชุมพร
๗.
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๘. หลวงพ่อเจียม จ. ชลบุรี
๙. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโล่นอก
๑๐. หลวงพ่อเขียว วัดเครือวัลย์
ฆราวาท คือ ตากัน สัตหีบ
เทพนารี คือ พระนางอุมาเทวี และเซี๊ยวโกว ( เจ้าแม่ทับทิม )

   ที่มาจาก www.seal2thai.org

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Thai Tattoo_สักยันต์

การสักยันต์

   การ  "สัก"  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ. 2525 กล่าวว่า  "สัก" คือการเอา เหล็กแหลมจุ้มหมึก หรือน้ำมันงาผสมว่าน 108 ชนิดแทงลงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย
   การสัก ถือเป็นประเพณีดั้งเดิมของไทย พบว่า ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่ มักมีลายสักที่หน้าอกหรือแผ่นหลังตามสมัยนิยม จนเกิดผู้ชำนาญการสักของแต่ละท้องถิ่น ทำหน้าที่สืบทอดลายยันต์อักษรโบราณ รวมถึงการประดิษฐ์คิดค้นลายยันต์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ในการสักและสืบทอดลายยันต์เหล่านี้มีทั้ง พระสงฆ์ และฆราวาส
   การสักที่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ไทยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 
     1. การสักที่สืบทอดมาจากการจัดระเบียบการปกครอง
             ตัวอย่างที่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ไทย

                 " นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทยๆ คงจะทราบความจริงว่า ข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับ"    ซึ่งในที่นี้หมายถึง แผนกทะเบียน ซึ่งจะเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชายไทยในขณะนั้น  จากหลักฐานที่ปรากฏอาจคาดเดาได้ว่าการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนการปกครองในสังคมราชการ การสักเครื่องหมายลงบนร่างกาย อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. 1991-2031 )
      2.การสักที่เกี่ยวกับความเชื่อ 
            ในการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจและความเชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งความเชื่อนี้เกิดเป็นประเพณีนิยม การสักดังกล่าวนี้มีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรม  เช่น การทำพิธีไหว้ครูก่อนการสัก, การร่ายเวทมนตร์คาถาก่อนจนถึงเมื่อสักเสร็จฯ
            การสักในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่จะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่มีหลักฐาณแน่ชัด แต่ในการสักยันต์ตามความเชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้ว ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนฯ 
      
     ทัศนคติที่มีต่อการสักในช่วงหนึ่งของสังคมไทยโบราณ มองว่าเป็นเรื่องของนักเลง และถูกมองไปในทางลบ ทำให้การสักเกือบจะสูญไปจากสังคมไทย แต่เหตุผลที่ทำให้การสักยันต์ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน คือ ความเชื่อถือศรัทธา  เพราะหลายๆคนยังเชื่อว่า การสักจะทำให้มีโชค และอยู่ยงคงกระพัน พ้นอันตราย  รููปแบบการสักแต่ละชนิดจึงมีคุณลักษณะเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน เช่น การสักยันต์บางชนิด เชื่อว่าสามารถช่วยให้ผู้สักได้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยาก. สัญลักษณ์บางอย่างของลายลีก เชื่อว่าจะช่วยให้ผิวหนังเหนียว ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้าฯ  นอกจากนี้ การสักทางไสยศาสตร์ยังเชื่อมโยงกับการระวังอันตราย และความปลอดภัย ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่างๆ  ศิลปะพื้นบ้านนี้ จึงกระตุ้นความรู้สึกของผู้คนให้เกิดความศรัทธาเชื่อมั่น เมื่อได้เรียนรู้และสัมผัสด้วยตนเองจึงเกิดเป็นความมั่นใจและสืบทอดกันเป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องมา
     การสัก  ลวดลายการสักของผู้สืบทอดทั้งสายพระสงฆ์ และสายฆราวาส นับจากสมัยโบราณจะมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลายเสือเผ่น,ลายหนุมาน ฯลฯ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันที่รายละเอียดในส่วนย่อย เช่น ถ้าสักลายหนุมาน รูปร่าง,โครงสร้างของหนุมานคงเดิมแต่จะต่างตรงที่รายละเอียดของนิ้วมือ นิ้วเท้า เครื่องประดับ รวมถึงอักขรคาถาที่เพิ่มเติม  
     ลายสักที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งเป็น 2  กลุ่ม
        1.ลายสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยม 
             นิยมสัก จิ้งจก,นกสาริกา เพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักของคนทั่วไป โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา การค้าขาย ทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น

        2.ลายสักเพื่อผลทางการอยู่ยงคงกระพัน
               นิยมสัก เสือ,หนุมาน,หงส์,สิงห์  เป็นตัวแทนของความดุร้ายปราดเปรียว ความสง่างามความกล้าหาญ
               นิยมสักลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตรายต่างๆ เช่น ยันต์เก้ายอด,ยันต์เกราะเพชรฯลฯ      
     
     การสักยันต์   เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยนับสมัยโบราณที่ได้รับการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน    การสักเริ่มที่ความเชื่อถือถือศรัทธาและการน้อมนำเอาแนวทางปฏิบัติที่เป็นจารีตประเพณี ทั้งเรื่องของแนวทางคำสอนทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมไทยมาผสมผสานให้เกิดเป็น อักขระลายยันต์ ที่เตือนสอนใจให้ปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เสริมสร้างกำลังใจด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าด้วยการหมั่นปฏิบัติตน