วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระครูเทพโลกอุดร

 พระครูเทพโลกอุดร

พระอริยะซึ่งเป็นพระเกิจิอาจาริย์ของกรมหลวงชุมพรฯ

พระอริยะที่ถูกกล่าวถึงอยู่เสมอเมื่อกล่าวถึงพระอริยะสายป่าหรือสายพระกรรมฐาน  ประวัติความเป็นมาของท่านไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าท่านเป็นพระเถระที่มีอายุมาตั้งแต่ต้นพุทธกาล  ทั้งยังเป็นศิษย์สายเดียวกันกับ หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเงิน 


วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

จากคำบอกเล่าของหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดาเสด็จในกรมเล่าว่า
   "ทรงสักยันต์ทั้งองค์ตั้งแต่หนุ่มๆ เช่น สักหนุมาน สักลิงลมที่พระชงฆ์ทำให้เดินเร็ว ใครตามแทบไม่ทัน ที่อุระทรงสักตัวเลข ตราด ร.ศ. ๑๑๒ เพราะรับสั่งว่า "ฝรั่งเศสเข้ามาเอาเมืองเราเมื่อ ๑๑๒ ต้องจำ มีคนเล่าว่าท่านทรงเลี้ยงผี ซึ่งก็จริง เพราะท่านทรงปั้นหุ่นเล็กๆที่เรียกว่า "หุ่นพยนต์" แล้วปักเสียบปักไว้หน้าวัง รอบๆสนามเมื่อคราวออกจากราชการ มีคนพูดว่า ที่วังนี้เลี้ยงคนไว้เยอะจัง พอตอนกลางคืนเห็นคนวิ่งเกรียวกราวตอนดึกๆดื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกระดูกหน้าผากแม่นาคพระโขนง คาดไว้ที่บั้นพระองค์ ไม่ทราบว่าใครนำมาถวาย
   เสด็จพ่อทรงเชื่อไสยศาสตร์ มีพระอาจารย์ที่สำคัญและสนิทมากคือ หลวงปู่ศุข หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อเงิน"
   จากการรวบรวมบรรดาคณาจารย์ พบเกจิอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือถึง ๑๐ รูป ฆราวาส ๑ คน และเทพนารีอีก ๒ พระองค์
๑. หลวงปู่ดำ (หลวงพ่อใหญ่ หรือ พระครูเทพโลกอุดร ) จ. ภูเก็ต
๒.
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา
๓.
หลวงปู่ศุข วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า จ. ชัยนาท
๔.
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
๕. หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ
๖. หลวงพ่อจร วัดดอนรวบ จ. ชุมพร
๗.
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๘. หลวงพ่อเจียม จ. ชลบุรี
๙. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโล่นอก
๑๐. หลวงพ่อเขียว วัดเครือวัลย์
ฆราวาท คือ ตากัน สัตหีบ
เทพนารี คือ พระนางอุมาเทวี และเซี๊ยวโกว ( เจ้าแม่ทับทิม )

   ที่มาจาก www.seal2thai.org